วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ติดตั้งโปรแกรม Flash cs3

วิธีการติดตั้ง Adobe Flash cs3 professional
1. ไป folder ที่มี files Adobe Flash cs3 professional อยู่
2. double click ที่ Files Setup.exe
3. รอจนปรากฏ หน้าตาดังภาพ แล้ว กด Accept เพื่อทำงานต่อ
4. กด Next เพื่อทำงานต่อ
5. คลิ๊กเลือก Driver C แล้วกด Next เพื่อทำงานต่อ
6. กด Install เพื่อทำงานต่อ
7. รอจนกระทั้ง แทบข้อมูลเต็มช่องแล้วกด Finish
ขั้นตอนการใส่ KEYGEN ของ Adobe Flash CS3 Professional
1. เปิดโปรแกรม Adobe Flash CS3 Professional
2. จะปรากฏดังภาพ ให้เปิด Folder ที่ทำการติดตั้งโปรแกรมอีก 1 ครั้ง
3. การ double click Files Keygen Flash CS3 Professional
4. จะปรากฏตัวเลขให้คัดลอกตัวเลขทั้งหมดไปใส่ลงในช่องของโปรแกรม Flash CS3
5. แล้วกด Next เพื่อทำงานต่อ
6. กด Activate Later จบขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม


ขั้นตอนการถอนโปรแกรม Adobe Flash CS3 Professional
1. เปิด Control Panel ขึ้นมา
2. เลือก Add or Remove program
3. เลือก Files ที่ต้องการถอนจากการติดตั้ง Adobe Flash CS3 Professional กดปุ่ม Change/Remove
4. เลือก Remove Adobe Flash CS3 components แล้วกด Next เพื่อทำงานต่อ
5. กด Next เพื่อทำงานต่อ
6. กด Remove Components เพื่อทำงานต่อ
7. รอจนปรากฏ Finish & Restart แล้ว กด 1 ครั้งจบการถอนการติดตั้งโปรแกรม

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สร้างการ์ตูนด้วย Flash

บทที่ 1
ภาพเคลื่อนไหวและสื่อการสอน

ภาพเคลื่อนไหว (Animated) คืออะไร
คำว่า Animate มาจากคำลาตินว่า Anima ซึ่งแปลว่า วิญญาณ ลมหายใจ การทำให้สิ่งไม่มีชีวิตให้เป็นสิ่งที่มีชีวิตขึ้นมา ในความหมายนี้คือ การทำให้สิ่งไม่มีชีวิต เช่น ตัวอักษรหรือภาพนิ่งให้มีชีวิตโดยการทำให้เกิดการเคลื่อนไหว สิ่งนั้นก็จะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว หรือ Animated
ภาพเคลื่อนไหวแต่ละภาพ จะประกอบไปด้วยภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพหรือเฟรมมาเรียงต่อกันและแสดงออกมาในความเร็วที่ต่อเนื่องทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวขึ้นมา เนื่องจากสายตาของคนเราไม่สามารถมองเห็นภาพแต่ละภาพที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสิ่งที่เรามองเห็นอย่างต่อเนื่องนั้น เรียกว่าภาพติดตาหรือ(Persistence of vision)

ความเป็นมาของการสร้างภาพเคลื่อนไหว

ลักษณะความต่อเนื่องของการมองเห็นถูกค้นพบตั้งแต่ศตวรรษ 18 และนำมา ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกว่า Zoetrope และ Flipbook Zoetrope มีลักษณะเป็นทรงกระบอกหมุนบนแกนสมมาตรของตัวเองด้านในของทรงกระบอกโดยรอบเป็นลำดับของรูปวาดเขียน ซึ่งแต่ละรูปจะแตกต่างกับรูปที่อยู่ถัดไปไม่มาก ทรงกระบอกจะมีรองยาวตัดด้านข้างระหว่างภาพ ดังนั้นเมื่อ ทรงกระบอกถูกหมุน จะสามารถมองผ่านร่องยาวนั้นเข้าไปเห็นภาพบนผนังของทรงกระบอกด้านตรงกันข้ามได้ ขณะทรงกระบอกหมุนบนแกนนั้นจะแสดงลำดับของภาพต่าง ๆ ซึ่งจะให้เกิดภาพเคลื่อนไหว
Flipbook เป็นอุปกรณ์สร้างภาพเคลื่อนไหว โดยทำจากกระดาษ ในแต่ละหน้าปะกอบด้วยภาพหนึ่งภาพและจะมีความแตกต่างจากหน้าต่อไปเพียงเล็กน้อยในลักษณะต่อเนื่องกันจำนวนหนึ่ง เมื่อต้องการดูภาพเคลื่อนไหวจะใช้มือกดที่ขอบ Flipbook ด้านหนึ่งแล้วค่อย ๆ ปล่อยกระดาษอย่างต่อเนื่อง จะปรากฏภาพเคลื่อนไหวบนกระดาษ



ต่อมา "โทมัส อัลวา เอดิสัน" ได้พัฒนาการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการถ่ายภาพนิ่งลงบนฟิล์ม แล้วใช้เครื่องฉายที่มีกำลังไฟสูง ๆ ส่องผ่านเพื่อให้เกิดภาพบนจอ ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นภาพยนตร์ที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยพัฒนาความเร็วในการเลื่อนแผ่นฟิล์ม ให้มีความเร็วถึง 24 ภาพต่อวินาที การฉายภาพยนตร์นั้นเริ่มต้นกันด้วยฟิล์ม 8 ม.ม. ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาเป็น 16 ม.ม. จากนั้นก็ได้พัฒนาไปสู่ 35 ม.ม. ซึ่งเป็นระบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จนกระทั่งมาถึงระบบใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า “Digital”
ปัจจุบันภาพเคลื่อนไหวสามารถสร้างขึ้นได้จากคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์มากมายทั้งทางด้านบันเทิงและทางด้านการศึกษา การสร้างภาพเคลื่อนไหวใกล้เคียงความเป็นจริง ต้องอาศัยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวนั้นต้องเป็นโปรแกรมเฉพาะ ซึ่งมีให้เลือกใช้งานจำนวนมาก โปรแกรม Macromedia Flash 5 จัดเป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ได้รับความนิยมสูง
ข้อดีของภาพเคลื่อนไหว

1. ดึงดูดความสนใจ (Attention Getter / Impact)
2. การจำลองสถานการณ์ (Simulation)
3. เพิ่มความรวดเร็วในการสร้างสื่อ (Increased speed of production)
4. มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน (Interactivities)
5. ง่ายต่อการแก้ไข (Ease of revision)
1. ดึงดูดความสนใจ (Attention Getter / Impact)
- เนื่องจากคนเราเรียนรู้จากการฟังได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์
- แต่เราเรียนรู้จากการมองเห็นถึง 80 เปอร์เซ็นต์
- ดวงตาของคนเราจะพยายามมองวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
- จะติดตามการเคลื่อนไหวนั้น ๆ
- ทำให้เราสามารถจดจำสิ่งที่เราเห็นได้อย่างยาวนาน

2. การจำลองสถานการณ์ (Simulation)
การใช้ภาพเคลื่อนไหวในการสื่อสาร จะได้ผลมากเมื่อนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์ เช่น การทดลอง หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะเหตุการณ์ร้ายแรงหรือสิ่งที่ไม่ควรมองด้วยภาพจริง เช่นด้านกายวิภาคศาสตร์ หรือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า
3. เพิ่มความรวดเร็วในการสร้างสื่อ (Increased speed of production)
ภาพเคลื่อนไหวสามารถอธิบายเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดี ไม่จำเป็นต้องสร้างสื่ออธิบายเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้น ๆ มากมายนัก ก็สามารถเข้าใจได้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องสร้างสื่อมากก็สามารถอธิบายเรื่องราวได้ทำให้การสร้างสื่อทำได้รวดเร็วขึ้น

4. มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน (Interactivities)
- สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
- ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยภาพสวยงามและเหมือนจริง
- ผู้เรียนมีการโต้ตอบ มีโอกาสเลือกตัดสินใจและได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
- ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเนื้อหาที่สนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
- สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
5. ง่ายต่อการแก้ไข (Ease of revision)
การสร้างภาพเคลื่อนไหว ต้องมีการจัดทำข้อมูลต้นฉบับ ในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถนำมาปรับปรุงหรือแก้ไขได้ แล้วสร้างเป็นภาพเคลื่อน ไหวใหม่ได้สะดวกและรวดเร็ว